หลังจากที่ผมทำบล๊อกอาหารเยอะมากๆ ตะลุยกินทั่วสารทิศ ทำจนหามรุ่งหามค่ำ คนดูก็เยอะดี จนวันนี้ ผมต้องขอทำ blog วิชาการนิดนึง เดี๋ยวเค้าจะไม่นับผมเป็น blog การแพทย์แล้ว แต่ทุกครั้งที่ผมทำ blog วิชาการ ค่า stat ของ blog จะลดลงตลอด อืมมม
จริงๆ ทางการแพทย์มีทฤษฎีทำลายล้างกฎเหล็กละครไทยครับ
มันมีชื่อว่า hh antigen system หรือเรียกง่ายๆ ว่า O-Bombay ครับ
ย้อนกลับมา Basic นิดนึง
ก่อนอื่นผมขอย้อนเสียหน่อยนะครับเกี่ยวกับหมู่เลือด โดยวันนี้จะพูดแค่ ABO blood group
หรือที่รู้จักคือเลือด 4 หมู่ได้แก่ A B O และ AB ครับ
Back to basic เลยคือคำว่าเรามีเลือดหมู่ไหน แปลว่า “โปรตีนบนผิวของเม็ดเลือดแดงของเราเป็นหมู่นั้นๆ”
หมายความว่า นายอภิสิทธิ์มีเลือดหมู B = มีโปรตีนชนิด B อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงของคุณอภิสิทธิ์
หรือ สุเทพมีหมู่เลือด AB = มีทั้งโปรตีนชนิด A และ B อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงของคุณสุเทพ
ส่วนถ้าคุณณัฐวุฒิเป็นเลือดหมู่ O ล่ะ หลายคนจะเข้าใจว่าคุณณัฐวุฒิจะไม่มีโปรตีนบ่งชี้หมู่เลือดบนผิวเม็ดเลือดแดง
ถูกครึ่งนึง…
เพราะจริงๆ คนเลือดหมู่ O ก็มีโปรตีนบ่งชี้หมู่เลือดนะครับ เรียกว่า H antigen
แล้วมันคืออะไร ทำไมถูกแค่ครึ่งเดียว
เพราะปกติการสร้างโปรตีนบนผิวเม็ดเลือดแดง (ต่อไปผมอาจจะเรียกสลับกับคำว่า Antigen นะครับ) มันไม่ได้ตรงไปตรงมาแบบนั้น
การสร้าง Antigen A หรือ B เพื่อให้เราเป็นหมู่เลือด A หรือ B นั้นเราต้องการ H antigen ครับ
คล้ายๆ A และ B antigen ก็มาจาก H antigen นั่นแหละ
แล้วมาต่อเพิ่มบางส่วนให้กลายเป็น A หรือ B antigen ไป
ซึ่งคนที่ H antigen ไม่ถูกต่อเติมอะไรก็จะเป็นเลือดหมู่ O ครับ
ดังรูปครับ (เอามาจาก http://www.wikidoc.org/index.php/Image:ABO_blood_type.svg ) มีการตัดต่อเพื่อความเข้าใจเล็กน้อย
ลองเทียบกันดูนะครับ
ถ้าอย่างรูปข้างบน ถึงแม้เลือดหมู่ O จะเขียนว่า No antigen แต่สังเกตว่ารูปยังไงก็มีก้านสีดำๆ ยื่นออกมาอยู่ดี
ให้เข้าใจว่าตรงนั้นคือ H antigen ครับ
H antigen เป็นรากฐานในการสร้าง A และ B antigen ต่อดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
แต่คนที่มีหมู่เลือด O-Bombay จะสร้าง H antigen ได้แบบไม่สมบูรณ์ จึงได้เป็น h antigen แทน
(เอารูปมาจาก http://en.wikipedia.org/wiki/File:Bombay.svg)
ดังนั้น เมื่อเอาเลือดไปตรวจหมู่เลือด ซึ่งใช้หลักการ Antigen-Antibody ดังกล่าวแล้ว มันจะไม่เกิดปฏิกิริยากับ Anti-A หรือ Anti-B ในหลอดน้ำยาทดสอบหมู่เลือด
มันก็แปลว่าเราจะมองมันเป็นเลือดกรุ๊ป O นั่นเอง ทั้งที่จริงๆ เค้าเป็นเลือดกรุ๊ป A หรือ B
อันที่สอง มันรับเลือดชาวบ้านไม่ได้
มันต้องให้เลือดเฉพาะคนที่เป็น O-Bombay เหมือนกัน
เพราะไอ้ h antigen ที่สร้างมาแบบไม่สมบูรณ์มันกลายเป็นหมู่เลือดใหม่กลายๆ
จะเป็นหมู่ O ก็ไม่ใช่ เพราะ O ที่แท้จริงจะมี H antigen บนผิวเม็ดเลือด
ความหนาแน่นของกระดูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือมีค่าความหนาแน่นของกระดูกมากกว่า -1 standard deviation เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยสูงสุดในวัยสาว
Osteopenia หรือกระดูกบาง คือมีความหนาแน่นของกระดูกอยู่ในช่วง -1 จนถึง -2.5 standard deviation เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยสูงสุดในวัยสาว
Osteoporosis หรือโรคกระดูกพรุน คือมีค่าความหนาแน่นของกระดูกน้อยกว่า -2.5 standard deviation เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยสูงสุดในวัยสาว
Severe osteoporosis หรือโรคกระดูกพรุนชนิดรุนแรง คือมีค่าความหนาแน่นของกระดูกน้อยกว่า -2.5 standard deviation เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยสูงสุดในวัยสาว ร่วมกับมีกระดูกหักจากความเปราะบาง (fragility fracture)
แต่สำหรับในประเทศไทย นอกจากที่เราจะใช้ BMD ที่เทียบเป็น T-score และ standard deviation แล้ว ยังมีการเทียบเป็น bone mineral density (g/cm3) ด้วย โดยวัด bone mineral density ในตำแหน่งต่างๆ แล้วเทียบกับค่ามาตรฐานที่มีค่าเท่ากับ 1 โดยตำแหน่งที่วัดได้แก่ total hip, total L1-L4, femoral neck, intertrochanter หากมีค่าต่ำกว่า 0.604, 0.682, 0.569 และ 0.769 g/cm3 ตามลำดับ ถือว่ามีภาวะ osteoporosis เกิดขึ้นด้วย
เราก็มีการประเมินเบื้องต้นง่ายๆ ด้วย Osteoporosis Self Assessment Tool for Asian หรือ OSTA index ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างง่ายเพื่อคำนวณหาความเสี่ยงของการเกิดภาวะกระดูกพรุน โดยคำนวณจากสูตร OSTA index =0.2 x (น้ำหนัก (ก.ก.) – อายุ) จากนั้นเปรียบเทียบโดยใช้เกณฑ์ < -1 เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง และ > -1 เป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำ ซึ่งกลุ่มนี้หากมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมได้ ควรพิจารณาไปตรวจมวลกระดูกด้วยเครื่อง DXA หรือ dual energy x-ray absorptiometry
Limpaphayom KK., Taechakraichana N., Jaisamrarn U., et. al. Bone mineral density of lumbar spine and proximal femur in normal Thai women. J Med Assoc Thai. 2000 Jul;83(7):725-31.
Nugarm R., Atmaca A., Kleerekoper M. Chapter 59 : Evaluation of the patient with osteoporosis or at risk of osteoporosis. in : Marcus R., Feldman D., Nelson D.A., Rosen C. Osteoperosis. 3rd ed. Volume 2. United Kingdom. Elsevier. 2008. Page 1189.
Compston J., Cooper A., Cooper C., et. al. Guideline forthe diagnosis and management of osteoporosis in postmenopausal women and men from the age of 50 years in the UK. National Osteoporosis Guideline Group (NOGG). 2009. Cited http://www.shef.ac.uk/NOGG/downloads.html , 20 January 2010.
Prema B Rapuri, J Christopher Gallagher, H Karimi Kinyamu, et al. Caffeine intake increases the rate of bone loss in elderly women and interacts with vitamin D receptor genotypes . Am J Clin Nutr. 2001. 74:694–700.
Koh L.K.H., Ben Sedrine W., Torralba T.P., et al. A simple tool to identify Asian women at increase risk of osteoporosis. Osteoporos Int. 2001. 12:699-705
Chaovisitsaree S., Namwongprom S., MorakoteN., et al. Comparison of Osteoporosis Self Assessment Tool for Asian (OSTA) and Standard Assessment in Menopause Clinic, Chiang Mai. J Med Assoc Thai. 2007. Vol. 90 No. 3. 420-5.